หน้าแรก
เผยแพร่ข้อมูล
ผลงานนิสิต
รายละเอียดผลงานนิสิต
ชื่อผลงาน (ไทย) : พฤติกรรมการใช้จ่ายของนิสิตกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อผลงาน (อังกฤษ) : -
ปีการศึกษา : 2566
บทคัดย่อ (ไทย) :

การศึกษาสารนิพนธ์ "พฤติกรรมการใช้จ่ายของนิสิตกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา" มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้จ่าย ปัญหาการใช้จ่าย และปัจจัยการใช้จ่ายของนิสิตกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 386คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

โดยผลการศึกษาสารนิพนธ์พบว่า ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับ พฤติกรรมการใช้จ่ายนิสิตมีพฤติกรรมการใช้จ่าย ด้านอาหารคือ ส่วนใหญ่รับประทานอาหารมื้อพิเศษ 1 - 3 ครั้ง มากที่สุด ต่อเดือน ด้านเสื้อผ้า คือ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้า มากที่สุด ครั้ง ต่อเดือน มากที่สุด ด้านที่พักอาศัย ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ หอพัก มากที่สุด ด้านการเดินทาง ส่วนใหญ่เดินทางไป - กลับมหาวิทยาลัยด้วย รถจักรยานยนต์ มากที่สุด ด้านการรักษาพยาบาล ส่วนใหญ่รับการรักษาพยาบาลด้วยการ ซื้อยามาทานเอง มากที่สุด ด้านความบันเทิง ส่วนใหญ่เลือกกิจกรรมผ่อนคลายคือ ดูหนังฟังเพลง (ผ่านแอปพลิเคชัน) มากที่สุด ด้านการออมเงิน ส่วนใหญ่ออมเงินก่อนใช้จ่าย มากที่สุดพฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มตัวอย่างแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยการใช้จ่ายส่วนบุคคลหากมีปัจจัยในการใช้จ่ายมาก พฤติกรรมการใช้จ่ายจะแตกต่างกัน ปัญหาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้จ่ายเงิน เงินไม่พอใช้จ่ายนิสิตส่วนมากใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเงินไม่พอใช้จ่ายโดยการขอผู้ปกครอง ปัญหาที่มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นด้านอาหาร และน้อยที่สุด คือการรักษาพยาบาล ปัจจัยส่วนบุคคล การใช้จ่ายเงินตามความต้องการในชีวิตประจำวัน ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ตอบสนองความต้องการต่างๆ ในการดำเนินชีวิต โดยมีการใช้จ่ายเป็นค่าอาหารมากที่สุด ปัจจัยด้านจิตวิทยา พบว่าด้านทัศนคติ มีระดับความคิดเห็นระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ด้านค่านิยม ด้านอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และด้านสื่อมวลชน พบว่ามีความคิดเห็นมีระดับความคิดเห็นระดับเห็นด้วย ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านจิตวิทยา ด้านทัศนคติการใช้จ่ายส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของนิสิต

บทคัดย่อ (อังกฤษ) :
ผู้สร้างผลงาน : พริษฐ์ดา วุฒิยา
อาจารย์ที่ปรึกษา : บุญเชิด หนูอิ่ม
ย้อนกลับ