หน้าแรก
เผยแพร่ข้อมูล
ผลงานนิสิต
รายละเอียดผลงานนิสิต
ชื่อผลงาน (ไทย) : พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อผลงาน (อังกฤษ) : -
ปีการศึกษา : 2566
บทคัดย่อ (ไทย) :

การศึกษาสารนิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา” เป็นการวิจัยเชิงสํารวจมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ประเด็นแรกคือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ประเด็นที่สองคือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ประเด็นที่สามคือ เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ในส่วนของประเด็นสุดท้ายคือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ประจําปีการศึกษา 2567 จํานวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล การศึกษา คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพามีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ คือ มีความถี่ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน โดยมีระยะเวลาในการใช้แต่ละครั้ง 1-2 ชั่วโมง และมักใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่บ้านหรือหอพักมากที่สุด ในส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ (Smartphone) และประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ที่นิสิตใช้บริการมากที่สุดคือ Instagram ส่วนพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า นิสิตส่วนใหญ่รู้จักสื่อสังคมออนไลน์จากการแนะนําของเพื่อน วัตถุประสงค์ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อความบันเทิง และนิสิตส่วนใหญ่มักใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีเนื้อหาด้านบันเทิง และผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ นิสิตมีความคิดเห็นว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีผลกระทบในด้านบันเทิงอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือมีผลกระทบในด้านการ ติดต่อสื่อสาร ด้านสังคม ด้านการเรียน และด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้านอารมณ์อยู่ในระดับน้อย อีกทั้งผลจากการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ แม้จะมีความแตกต่างในเรื่องของปัจจัยส่วนบุคคลแต่กลับมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้รับผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด

บทคัดย่อ (อังกฤษ) :

-

ผู้สร้างผลงาน : อัจฉริยา รามประเสริฐ
อาจารย์ที่ปรึกษา : บุญเชิด หนูอิ่ม
ย้อนกลับ