หน้าแรก
เผยแพร่ข้อมูล
ผลงานนิสิต
รายละเอียดผลงานนิสิต
ชื่อผลงาน (ไทย) : ประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติในการทำงานของกลุ่มผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ
ชื่อผลงาน (อังกฤษ) : ประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติในการทำงานของกลุ่มผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ (ไทย) :

57021005: สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน;ศศ.บ. (การพัฒนาชุมชน)

คำสำคัญ : ประสบการณ์,การเลือกปฏิบัติในการทำงาน,การเลือกปฏิบัติ,ความหลากหลายทางเพศ

กรวินท์  ศรีนาค:ประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติในการทำงานของกลุ่มผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ

อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร สุวรรณละออง

                        การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติในการทำงานของกลุ่มผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ประสบปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติในการทำงาน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกลักษณะการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหาในลักษณะพรรณนา

                        ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ ส่วนใหญ่ มีประสบการณ์ถูกเลือกปฏิบัติในการทำงาน 8 ประเด็น คือ 1.การดูถูกเหยียดหยาม ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์โดยการใช้วาจาแลการกระทำที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อจิตใจ 2.การได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม เช่น การไม่ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานล่วงเวลา การไม่ได้รับเงินโบนัส การไม่ได้เพิ่มเงินเดือนในกรณีครบสัญญาจ้าง 3.การถูกจำกัดโอกาสในการจ้างงาน เช่น การไม่ได้เข้าทำงานในตำแหน่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพราะเหตุแห่งเพศ 4.การถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การไม่ยอมรับในการแสดงออกทางด้านอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลาย 5.การถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม เช่น การถูกให้ปฏิบัติงานมากเกินกว่าเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ 6.การถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ เช่น การถูกเนื้อต้องตัวโดยไม่ยินยอม พูดด้วยวาจาแทะโลม 7.การไม่ได้รับการพัฒนา เช่น การไม่ได้รับโอกาสในการเรียนคณะที่ต้องการ การไม่ได้รับโอกาสในการทำงานที่มุ่งหวัง 8.การไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่น การถูกส่งตัวกลับจากาการฝึกงานเนื่องจากถูกมองว่ามีบุคลิกที่ไม่เหมาะสมกับวิชาชีพ ซึ่งสาเหตุหลักของการถูกเลือกปฏิบัติในการทำงานดังกล่าวมาจากอคติทางเพศของกลุ่มคนต่าง ๆ ที่มีต่อกลุ่มผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ ส่งผลให้ผู้มีอัตลักษณ์ถูกลดทอนคุณค่าในความเป็นมนุษย์  ถูกแบ่งแยก จำกัด กีดกัน ในด้านสิทธิและสิ่งต่าง ๆ ที่สมควรจะได้รับ ทำให้การดำเนินชีวิตมีความยากลำบาก ทุกข์ทรมาน ไม่มีความสุขและอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ  ดังนั้นสังคมจึงควรทำความเข้าใจ เปิดโอกาส และยอมรับอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลาย เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศได้มีโอกาสและมีคุณค่าในสังคมเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ทั่วไป

บทคัดย่อ (อังกฤษ) :
ผู้สร้างผลงาน : กรวินท์ ศรีนาค
อาจารย์ที่ปรึกษา : สุเนตร สุวรรณละออง
ย้อนกลับ