บทคัดย่อ (ไทย) : |
การวิจัยเรื่อง “วิธีการระบุและคุณค่าของการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตของประชากรในเขตเมืองจังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุสุขภาวะทางจิตในลักษณะที่สัมพันธ์กันเชิงโครงสร้าง โดยมุ่งเน้นศึกษามิติด้านสังคมของประชาชนในพื้นที่เมือง ซึ่งมีความหลากหลายทางอายุ และมีบริบทชีวิตที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี รวมจำนวน 374 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย และแบบสัมภาษณ์ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิต พฤติกรรมสุขภาพ และสุขภาพทั่วไป
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม Looker Studio เพื่อประมวลผลเชิงลึกเชิงโครงสร้าง พร้อมใช้โปรแกรม Excel วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนาและการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า ประชากรส่วนใหญ่มีสุขภาวะทางจิตอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง โดยกลุ่มผู้สูงอายุมีระดับสุขภาวะทางจิตสูงกว่ากลุ่มวัยอื่นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านอายุ รายได้ ระดับการศึกษา และการฝึกสมาธิ มีผลต่อสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตในสังคมเมืองจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม และอายุร่วมด้วย เพื่อให้การส่งเสริมสุขภาพจิตมีความยั่งยืนและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงวัย |
บทคัดย่อ (อังกฤษ) : |
The research on “Methods for Identifying and the Value of Mental Health Promotion in the Urban Population of Chonburi Province” aimed to identify mental health in a structurally related manner, focusing on studying the social dimensions of people in urban areas, which have a variety of ages and different life contexts. The sample group in this research was 374 general people living in Samet Subdistrict, Mueang District, Chonburi Province. The main tool used to collect data was a questionnaire, consisting of the Thai version of the World Health Organization Quality of Life Indicators Questionnaire and the Thai Mental Health Index Interview Form, which covered the aspects of mental health promotion, health behavior, and general health.
Data analysis used Looker Studio to perform in-depth structural processing, and Excel to analyze descriptive statistics and compare averages. It was found that most of the population had moderate to high levels of mental well-being, with the elderly group having significantly higher levels of mental well-being than other age groups. In addition, it was found that factors such as age, income, education level, and meditation practice had statistically significant effects on mental well-being. The results of the study showed that promoting mental well-being in urban society requires consideration of social, cultural, and age factors in order for mental health promotion to be sustainable and appropriate for target groups in each age group. |