การศึกษาสารนิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้ออาหารออนไลน์
ของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantive
Method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตระดับปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 279 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ทางสถิติ สถิติที่ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า นิสิตระดับปริญญาตรี คณะมนุยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57 และส่วนใหญ่มีระดับชั้นการศึกษาปี
ที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 38.7 ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 36.9 และส่วน
ใหญ่อาศัยอยู่ที่ทอพักหรือบ้านเช่ามากที่สุด จำนวน 178 คน คน คิดเป็นร้อยละ 63.8
ผลการศึกษาการตัดสินใจสั่งอาหารออนไลน์ของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารออนไลน์อยู่ในเกณฑ์การประเมิน
ระดับมาก ( x̄ = 4.24) และด้านพฤติกรรมการตัดสินใจสั่งซื้ออาหารออนไลน์ การตัดสินใจด้านราคา คุณภาพ
และปริมาณของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ส่วนใหญ่สั่งซื้ออาหารออนไลน์
2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 50.9 ส่วนใหญ่เลือกใช้แพลตฟอร์มสั่งซื้ออาหารออนไลน์ Grab Food คิด
เป็นร้อยละ 34.7 ส่วนใหญ่สั่งซื้ออาหารออนไลน์ประเภทอาหารฟาสต์ฟู้ด คิดเป็นร้อยละ 32.2 ส่วนใหญ่เลือก
เหตุผลความสะดวกสบาย คิดเป็นร้อยละ 35.1 ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนร้าน เปลี่ยนบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 54.1
ส่วนใหญ่มีงบประมาณในการสังซื่อต่อครั้ง 100-200 บาท คิดเป็นร้อยละ 53.0 ส่วนใหญ่มีการให้ความสำคัญ
ของคุณภาพอาหารในการสั่งซื้อเรื่องรสชาติอาหาร คิดเป็นร้อยละ 35.0 ส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องคุณภาพ
อาหารที่ได้รับไม่ตรงตามที่คาดไว้ในการสั่งซื้อบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 63.8 และส่วนใหญ่มีความรู้สึกต่อ
อาหารที่สั่งมีปริมาณไม่คุ้มค่ากับราคาในการสั่งซื้อบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 62.7 |